วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สายการบินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


สายการบินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคืออะไร 
 
มีลักษณะอย่างไร ?  
        

                หากท่านผู้อ่านได้ติดตามข่าวสารในปัจจุบันจะพบว่าสภาพแวดล้อมในปัจจุบันได้ถูกทำลายไปมากและยังคงมีการทำลายอย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้เนื่องมาจากการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่มีการเจริญอย่างรวดเร็วส่งผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รวมไปถึงการปล่อยก๊าซที่ส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อนในปริมาณมาก  ขณะที่เราใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากในการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ แต่กลับไม่สนใจที่จะอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางธรรมชาติ จึงส่งผลให้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว และมนุษย์เองก็เริ่มได้รับผลกระทบจากการที่ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย

                ในปัจจุบันองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสำคัญสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง  รวมไปถึงอุตสาหกรรมการบินที่คิดมาตรการต่างๆมาใช้เพื่อลดพลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อน  และรวมไปถึงการนำเชื้อเพลิงทางชีวภาพมาใช้ในการขับเคลื่อน เป็นต้น


 


     
หลายคนอาจเคยสงสัยว่าเชื้อเพลิงที่เครื่องบินใช้ในการขับ

 เคลื่อนมีลักษณะอย่างไร ? ชนิดเดียวกับที่ใช้ในรถหรือเปล่า ?



น้ำมันเครื่องบิน

 

น้ำมันเบนซินเครื่องบินใบพัด 

             

        ระบบของเครื่องยนต์เครื่องบินใบพัดจะมีลักษณะคล้ายกับเครื่องยนต์เบนซินที่ใช้กับรถยนต์ น้ำมันที่ใช้กับเครื่องบินใบพัดจึงมีองค์ประกอบคล้ายกับน้ำมันเบนซินที่ใช้ในรถยนต์ เพียงแต่มีความสะอาด และบริสุทธิ์เป็นพิเศษ มีการปรุงแต่งให้มีค่าออกเทนสูงขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ของเครื่องบิน ซึ่งต้องใช้กำลังขับดันมากและมีจุดเยือกแข็งที่ต่ำกว่าน้ำมันเบนซินทั่วไป เนื่องจากเครื่องบินต้องบินในระดับสูงซึ่งอากาศเย็นจัด ดังนั้นน้ำมันจะต้องไหลได้สะดวกตลอดเวลา คุณภาพในการต้านทางการน็อค (Antiknock) หรือค่าออกเทนนัมเบอร์สูงกว่าน้ำมันเบนซินทั่วไป เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในสภาวะที่มีอุณหภูมิและความดันเปลี่ยนแปลงในช่วงกว้าง

 

            

น้ำมันเครื่องบินไอพ่น

 

        น้ำมันเครื่องบินไอพ่น  ใช้กับเครื่องยนต์เทอร์ไบน์หรือกังหัน มีลักษณะในการทำงานแตกต่างกับเครื่องยนต์ในเครื่องบินใบพัด  คือไม่ต้องการเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพสูง ต้านทานการน็อค แต่ต้องการเชื้อเพลิงที่สะอาด บริสุทธิ์ และสามารถเผาไหม้ได้ดีที่สุดอุณหภูมิต่ำ และต้องมีความคงตัวสูง (STABILITY) เพื่อน้ำมันสลายตัวหรือเสื่อมระหว่างเก็บในถังหรือใช้งาน

 

 

น้ำมันเครื่องบินไอพ่นแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

 

1. น้ำมันเครื่องบินไอพ่นเพื่อการพาณิชย์ (JP-1 หรือ JET A-1)

           มีช่วงในการกลั่นใกล้เคียงกับน้ำมันก๊าด นิยมใช้กับเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินทั่วไป

 

2. น้ำมันเครื่องบินไอพ่นทหาร (JP-4)

             เป็นเครื่องบินไอพ่นที่ใช้ในกิจกรรมทางทหาร เช่น เครื่องบินขับไล่ซึ่งต้องการช่วงอุณหภูมิจุดเดือดกว้าง เป็นน้ำมันที่มีลักษณะกึ่งๆ หรือผสมกันระหว่างน้ำมันเบนซินกับน้ำมันก๊าด

             

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยาน

แบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภท

 

1. JET A-1

          ใช้กับเครื่องยนต์ไอพ่น หรือ เครื่องยนต์ Turboprob ซึ่งเครื่องบินที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง JET A-1 คือ Boeing 747 เป็นเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่น และ Cessna Grand Caravan เป็นเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์ Turboprob

           นอกจากนี้ยังมี Jet A , Jet B , JP 4 , JP 5 , JP 7 , JP 8 ใช้กับเครื่องยนต์ไอพ่นและ DA-42 ของฺ BAC ใช้  JET A-1

 

2. AVGAS [Aviation Gasoline] ใช้กับเครื่องยนต์ลูกสูบ และเครื่องบินขนาดเล็กทั่วไป โดยมีค่าออกเทนสูง ซึ่ง Cessna 172 และ Piper Seneca II ของ BAC ใช้ AVGAS 100LL และ 100/130

 



 

 

     น้ำมันเชื้อเพลิงที่กล่าวมาในข้างต้นล้วนเป็นวัตถุที่ไวไฟ

 

ความไวไฟกว่าเบนซินธรรมดาเป็น สิบๆเท่า ดังนั้นหากไม่

 

ความจำเป็นก็ไม่ควรเข้าใกล้





น้ำมันเครื่องบินไม่สามารถนำมาเติมรถได้เนื่องจากโครงสร้าง

 

ของเครื่องบินและรถมีความแตกต่างกันมาก เครื่องบินใช้วัศดุ

 

เนื้อเหล็กที่หนาและทนทานต่อแรงอัดสูงมาก ดังนั้นหากนำ

 

น้ำมันเครื่องบินมาใใช้กับรถจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายและ

 

ต้องเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่


 


 

 ก่อนทำการบิน 

            ทุกครั้งที่จะทำการบิน จะต้องทำการถ่ายน้ำมัน เพื่อตรวจสอบว่ามีน้ำปะปนกับน้ำมันเชื้อเพลิงหรือเปล่า หากมีน้ำปะปนต้องทำการถ่ายน้ำออกให้หมด จนเหลือแต่น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันเชื้อเพลิงก็ต้องเติมให้เต็มอยู่เสมอ เพื่อลดช่องว่างภายในถังน้ำมัน เพราะหากมีช่องว่างในถังน้ำมันมาก ประกอบกับอากาศร้อนจัด จะทำให้เกิดปฏิกิริยา ระหว่าง ไอน้ำมัน ออกซิเจน ความร้อย (อุณหภูมิสูง) จะทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง  ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ในการเติมน้ำมันแต่ละครั้ง จะต้องทำการต่อสายกราวด์ลงดิน โดยต่อจากหัวเติมเชื้อเพลิง และส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องบินลงกราวด์ด้วย เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ ขณะเติมน้ำมัน


                   และเพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันและเป็นการลดการปล่อยก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทางสายการบินต่างๆจึงคิดกลวิธีต่างๆที่จะลดการใช้พลังงานให้มากที่สุดในการบินแต่ละครั้ง รวมไปถึงการค้นคว้าเกี่ยวกับพลังงานที่สามารถนำมาใช้ทดแทนได้




สายการบินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม



easyJet

             easyJet ถือเป็นสายการบินต้นทุนต่ำสายการบินหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาระบบการขับเคลื่อนที่พื้นด้วยไฟฟ้า (electric taxiing system) เป็นระบบที่ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิง อีกทั้งมีความน่าเชื่อถือด้านสิ่งแวดล้อม และระบบ"eleectric taxiing system, EGTS" นี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท Honeywell และกลุ่มบริษัท Safran ซึ่งได้กล่าวอ้างว่า easyJet ใช้เชื้อเพลิงราว 4% ในการ taxi เครื่องบินก่อนการวิ่งขึ้นและหลังจากลงสนามขับเคลื่อมาที่ gate

            ท่านผู้อ่านหลายท่านคงคิดว่าแค่ 4% มันน้อยมาก แต่มันถือเป็นตัวเลขที่สูงสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำอย่าง easyJet เนื่องจากมีเที่ยวบินระยะทางสั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้เวลาที่พื้นค่อนข้างสูง ซึ่งเครื่องบินของ easyJet เฉลี่ยเวลาในการ taxi ของเครื่องบินประมาณ 20 นาทีต่อเที่ยวบิน หากรวมทั้งปีของทุกเครื่องจะมีระยะทางภาคพื่นถึง 3.5 ล้านไมล์

                 ระบบ EGTS นี้ที่ล้อ main ของเครื่องบินจะถูกติดตั้งด้วยมอเตอร์และ actuators เพื่อที่จะให้นักบินสามารถควบคุมเครื่องบินได้อย่างสมบูรณ์ในขณะทำการ taxi ระบบนี้จะใช้ไฟฟ้าจาก auxiliary generator เป็นระบบที่ช่วยลดการใช้รถลากเครื่องบินเข้าและออกจากหลุมจอด

                 ระบบ EGTS เป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้า จึงเป็นเทคโนโลยีที่สะะอาด ที่ทีมนักวิจัยเชื่อว่าการเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าจะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดด้านการทดสอบการใช้งานจริงครั้งแรกนั้นมีกำหนดในปี ค.ศ. 2013 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันตัวเลข ว่าสามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้ 4% จริงหรือไม่ การมีส่วนร่วมของ easyJet ในครั้งนี้คือมีบทบาทในการกำหนดขั้นตอนการปฏิการของสายการบินที่ต้องการประยุกต์ใช้ EGTS คาดการณ์ไว้ว่าระบบ EGTS จะเริ่มปรากฏในเครื่องบินทั้งเก่าและใหม่ในปี ค.ศ. 2016


 

                โครงการนี้ไม่ใช่โครงการแรกที่ easyJet ทำเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ก่อนหน้านี้ easyJet เคยประกาศแผนที่จะใช้งานเครื่องบินและเครื่องยนต์สมัยใหม่เพื่อเป็นสายการบินที่บินได้เงียบลง 25% และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์น้อยลง 50% และลดการปล่อยก๊าซไนโตรเจนน้อยลง 75% ทาง easyJet ได้กล่าวไว้ว่าทางสายการบินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะเริ่มทำการบินได้ในปี ค.ศ. 2015

         

             easyJet ไม่ใช่สายการบินที่เป็นสมาชิกรายแรกของอุตสาหกรรมการบินที่ทำการทดสอบระบบการ taxi ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะก่อนหน้านี้มีการวิจัยร่วมกันระหว่าง Airbus และศูนย์วิจัยทางอากาศยานและอวกาศเยอรมัน (DLR) ในด้านการ taxi อัตโนมัติ (autonomous taxiing) ที่ใช้เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง


  

การบินไทย



              การบินไทยถือเป็นสายการบินนำร่องของไทยในด้านการใส่ใจสิ่งแวดล้อม การบินไทยให้ความสำคัญในการให้ความร่วมมือกับสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศหรือไออาต้า(IATA) เป็นอย่างมากในด้านการผลักดันให้สมาชิกในอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกมีส่วนร่วมยับยั้งการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ให้ได้ในปี พ.ศ. 2563 รวมไปถึงการมีการชดเชยหรือเท่ากับไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ให้ได้ในปี พ.ศ. 2600 หากเป้าหมายการยับยั้งการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ประสบผลสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 จำทำให้สายการบินสมาชิกหันมาใช้เชื้อเพลิงชีวภาพแทนพลังงานที่ผลิตจากฟอสซิลได้ในปริมาณ 6% จะทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ลงได้ในปริมาณ 5%


              หากเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นในปัจจุบันพบว่าอุตสาหกรรมการบินมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในัตรา 2% ของทั้งโลก ซึ่งถือว่าน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่นมาก แต่หากอุตสาหกรรมการบินมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ย่อมเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 5% ต่อปี หากสายการบินยังตระหนักถึงความจำเป็นในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ จะทำให้มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศในอัตรา 3% หรือมีปริมาณก๊าซมากถึง 20 ล้านตันต่อปี

                 ในส่วนของภูมิภาคเอเชีย การบินไทยถือเป็นสายการบินแรกที่ทำการบินด้วยเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ ในเที่ยวบินพาณิชย์เส้นทางภายในประเทศ ภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมและการเดินทางแบบรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ Travel Green 


โครงการ Travel Green



                  เป็นโครงการที่นำร่องการนำเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพมาใช้ในการทำการบิน ซึ่งถือเป็นสายการบินแรกในไทยและและภูมิภาคเอเชีย ภายใต้แนวคิดการเดินทางแบบรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ Travel Green  โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการใช้พลังงานทดแทนหรือเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพอย่างยั่งยืน


 

                  นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า "บริษัทฯ ในฐานะสายการบินแห่งชาติได้กำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจในยุทธศาสตร์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR ) ในฐานะสายการบินรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ Travel Green เพื่อมีส่วนช่วยในการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อม และรวมไปถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ โดยการหันมาใช้เชื้อเพลิงทางชีวภาพแทน เพื่อเป็นการลดการใช้น้ำมันที่ผลิตจากฟอสซิล ซึ่งทางการบินไทยต้องการผลักดันให้มีการพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมการบินให้มีความความยั่งยืน ให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการบินภายในประเทศไทยและภูมิภาคนี้ โดยมีการวางแผนความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น บริษัทผู้ผลิตน้ำมัน สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานของทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย รวมไปถึงบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินในต่างประเทศให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทยภายใต้โครงการพัฒนาเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพในการบินอย่างยั่งยืน"


 

                  เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงทางชีวภาพ บริษัทการบินไทยฯ จึงจัดทำการบินเที่ยวบินพิเศษ ทีจี 8421 ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา เที่ยวบินนี้ทำการบินด้วยเชื้อเพลิงทางชีวภาพเป็นเที่ยวแรกในประเทศไทย โดยออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 14.00 น. ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 777-200  และเพื่อให้ผู้โดยสารมีส่วนร่วมในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการสนับสนุนให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงมีการทำการบินด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพ เส้นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ในวันพฤหัสบดีที่  22 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เที่ยวบิน ทีจี 104 ซึ่งรายได้จากค่าโดยสารในเที่ยวบินดังกล่าวทางบริษัทได้มอบให้แก่องค์ด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทย และเที่ยวบิน ทีจี 104 นี้ยังมีคณะนักเรียนและอาจารย์ จำนวน 98 คน ร่วมเดินทางไปด้วย ภายใต้โครงการ "พาน้องท่องฟ้า" เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนรู้รักษ์สิ่งแวด


 

เอทิฮัด สั่ง A320 รุ่นใหม่ที่ติดตั้ง Sharklets จำนวน 17 ลำ


            เมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ทางสายการบินเอทิฮัด สายการบินแห่งชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ลงนามเซ็นสัญญากับแอร์บัส เพื่อสั่งซื้อเครื่องบิน เอ 320 ที่มีการติดตั้งชาร์คเล็ต ปลายปีกประหยัดเชื้อเพลิง จำนวน 17 ลำ ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้มีความสูงประมาณ 2.5 เมตร จะติดตั้งแทนปลายปีกแบบ wingtip fence ซึ่งจะช่วยลดการเผาผลาญเชื้อเพลิงทำให้เครื่องบินสามารถบินได้ไกลขึ้น

             ทางแอร์บัสจะทำการส่งมอบเครื่องบิน 320 แบบติดตั้งชาร์คเล็ต ให้กับสายการบินเอทิฮัดในไตรมาศที่ 3 ของปี  พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป และตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา ทางสายการบินเอทิฮัด ได้มีการรับมอบเครื่องบิน เอ 320 ไปแล้วจำนวน 20 ลำ และเมื่อเครื่องบินเอ 320 แบบติดตั้งชาร์คเล็ต เริ่มมีการให้บริการจะช่วยเสริมให้ฝูงบินทางเดินเดี่ยวของเอทิฮัดกลายเป็นหนึ่งในฝูงบินที่ทันสมัยและประหยัดเชื้อเพลิงมากที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง

            ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ชาร์คเล็ตจะเสริมศักยภาพให้เครื่องบิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มน้ำหนักในการบรรทุกและประสิทธิภาพในการออกตัวของเครื่องบิน และที่สำคัญอุปกรณ์ชนิดนี้สามารถลดการเผาผลาญเชื้อเพลิงลงได้ถึง 3.5 % ซึ่งเท่ากับช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 1,000 ตันต่อเครื่องบิน 1 ลำ


ขอขอบคุณข้อมูลที่มีค่าจากเว็บไซด์ด้านล่างไว้ ณ ที่นี้

 อ้างอิง